 |
 |
#10# - 97602 |
![[icon-addtodelete : 101 bytes]](img/icon-delete.gif) |
 |
![[member icon]](icon/plane2.gif) |
 |
สาเหตุของการใช้เสมาที่อก
ไม่ทราบประวัติที่แน่ชัด แต่จากเท่าที่ค้นมา เสมาถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการศึกษาครับ ซึ่งโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ตั้งโดยคนไทย ( และจัดได้เป็นโรงเรียนอันดับที่ 3 ของประเทศไทย โดยโรงเรียนแรกก็คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และโรงเรียนที่สองก็คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย)
เมื่อ 2 ปีที่แล้วช่วงที่กำลังทำหนังสือสมานมิตรก็ได้พยายามค้นหาที่มาถึงสาเหตุที่ต้องใช้เสมาเหมือนกันและได้เขียนไว้ในหนังสือสมานมิตร 121
******************************************************************************
แกะรอย เสมา
6 ปีที่แล้ว
เท่าที่จำความได้ ช่วงเวลาที่ผมได้เข้ามาเรียนและใช้ชีวิตในรั้วชมพู-ฟ้าแห่งนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาความสุขช่วงหนึ่ง ที่สร้างความภูมิใจให้กับตัวเองมากทีเดียว เพราะสวนกุหลาบฯ ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนอันดับหนึ่งที่ใครๆก็ยอมรับในสมัยนั้น และไม่ใช่ว่าจะมีโอกาสเข้ามาสัมผัสสถานศึกษาแห่งนี้กันได้ง่ายๆ
ผมและเพื่อนๆในรุ่น ได้รับการอบรมสั่งสอนจากคณาจารย์ ,รุ่นพี่ และศิษย์เก่าให้รักและหวงแหนใน ความเป็นสวนกุหลาบ ซึ่งรวมไปถึงอักษร ส.ก. ที่ปักอยู่อกเสื้อนักเรียนด้านขวาอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อย ผิดระเบียบ หรือการประพฤติตัวอันไม่เหมาะสม จึงไม่ต่างอะไรกับ การทำลายชื่อเสียงและประจานโรงเรียนตัวเอง เหมือนเช่นที่เราได้เห็นกันจนชินตาอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง
หลังจากนั้นไม่นาน ผมเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างอะไรบางอย่างบนอกเสื้อของรุ่นพี่ ม.ปลาย เป็นเครื่องหมายคล้ายรูปดอกบัว ปักด้ายสีชมพู-ฟ้า เหนืออักษร ส.ก. ซึ่งนักเรียน ม.ต้นไม่มี แน่นอน
มาถึงตรงนี้ คงไม่มีนักเรียนสวนกุหลาบคนไหน ไม่รู้จักเครื่องหมายที่มีชื่อว่า
เสมา
แต่น้อยคนนักที่จะรู้และทราบถึงประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายอันศักดิ์สิทธิ์นี้
เสมา คืออะไร ? ,ทำไมต้องปักบนอกเสื้อนักเรียน ? แล้วใช้ตราอื่นแทนได้หรือเปล่า ?
ซึ่งผู้ที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ดีที่สุดก็ควรจะเป็นนักเรียนสวนกุหลาบนั่นเอง
ย้อนอดีตไปในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติข้อบังคับในการ
ทำพิธีสังฆกรรมหรือกิจของสงฆ์ต่างๆว่า จะต้องกำหนดอาณาเขตบริเวณให้แน่นอน
โดยใช้วิธีการฝัง ลูกนิมิต เอาไว้ใต้ดินรอบๆเขตแดนดังกล่าว แต่บ่อยครั้งที่ชาวบ้าน
มักจะเผลอล่วงล้ำเข้าไป เนื่องจากไม่เห็นลูกนิมิตที่ฝังอยู่และไม่รู้ว่ามีพิธีกรรมในที่นั้นๆ
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงได้มีการสร้างกำแพงที่มีใบเสมาเรียงกันอยู่ด้านบนขึ้นมากั้นเอาไว้
เหมือนตามกำแพงวัดที่เราเห็นในปัจจุบัน
ใบเสมาที่มีรูป ธรรมจักร อยู่ตรงกลาง ซึ่งหมายถึง ปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี หรือที่เรียกกันว่า
ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร (พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าทรงหมุนวงล้อแห่งธรรม)
ทำให้ใบเสมาที่มีรูปธรรมจักรอยู่ตรงกลาง ถูกเรียกรวมว่า เสมาธรรมจักร
วงล้อธรรมจักรที่พบมีหลายแบบ มีซี่กำตั้งแต่ ๓๖, ๒๖, ๒๒, ๑๘, ๑๖ ,๑๒ และ ๘ซี่
ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความหมายทั้งสิ้น เช่น ๑๖ซี่ หมายถึง โสฬสธรรม หรืออาการ ๑๖ อย่าง
ของอริยสัจสี่ , ๑๒ซี่ หมายถึง ทวาสการํ ในธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ส่วนธรรมจักรตรงกลาง
เสมาที่เป็นเครื่องหมายของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่แรกเริ่ม (๑ เมษายน ๒๔๓๕) จะมีกำ ๘ ซี่ ซึ่ง
หมายถึง อริยมรรค ๘ คือ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ โดยใช้เปรียบการศึกษาควบคู่คุณธรรม เสมือนวงล้อ
ธรรมจักรที่หมุนอยู่ในใบเสมา
แต่โรงเรียนของเราเกิดก่อนกระทรวงฯ
ตราประจำโรงเรียนรูป เสมา เป็นตราแบบที่สาม ต่อจากตรา จ.ป.ร. ทั้งสองแบบแรก
ซึ่งเริ่มใช้หลังย้ายโรงเรียนจากพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ ณ ริมถนนตรีเพชร (เช่าที่บางส่วน
ของวัดราชบูรณะฯ) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ออกแบบโดยอาจารย์โรงเรียนเพาะช่าง ที่เริ่มเปิดสอน
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ลักษณะตราโรงเรียนเป็นรูป เสมา มี ดอกกุหลาบ อยู่ตรงกลางแทนที่ ธรรมจักร ด้านล่างสลักตัวอักษรพุทธศาสนสุภาษิต สุวิชาโน ภวํ โหติ แปลความว่า
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ซึ่งได้นำเอามาใช้เป็นคติพจน์ประจำโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาจวบจน
ทุกวันนี้
ในราวปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๓ สมัยก่อนหน้าที่จะนำคติพจน์นี้มาใช้ พระปวโรฬารวิทยา
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น ได้ทำเรื่องขอใช้
เครื่องหมายโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเดิม (แบบที่สองและสี่ เหมือนที่ใช้ในปัจจุบัน)
แทนเครื่องหมาย เสมากุหลาบ เนื่องจากความเห็นของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฯ ที่เห็นว่าควรนำตราของ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมาใช้ เพราะเคยเป็นโรงเรียนดั้งเดิมมาก่อน และเพื่อเป็นการรักษาเกียรติประวัติ
ชื่อเสียงของโรงเรียนหลวงซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานไว้ให้แก่ปวงชนชาวไทย
และก็ได้รับพระบรมราชานุญาติจากรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้นำตราโรงเรียนดังกล่าวมา
ใช้ได้ในที่สุด ส่วนตรา เสมากุหลาบ ยังคงใช้เป็นเข็มติดบนเครื่องแบบนักเรียนชั้นมัธยมปลาย
โดยนำตราโรงเรียนมาแทนที่ดอกกุหลาบที่อยู่ตรงกลางเสมา และสลักข้อความ สวนกุหลาบวิทยาลัย แทนที่คติพจน์ประจำโรงเรียน
จนกระทั่งในราวทศวรรษที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๖ ๒๕๑๔) ผู้อำนวยการ สุวรรณ จันทร์สม
ได้เปลี่ยนจากการใช้เข็มกลัดมาเป็นการปักเครื่องหมาย เสมาชมพู-ฟ้า บนอกเสื้อ ซึ่งเป็น
แบบเดียวกับเครื่องแบบนักเรียนสวนกุหลาบฯที่เราใช้กันอยู่ปกติในทุกวันนี้
แม้เรื่องราวของ เสมา จะดำเนินสืบต่อมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน แต่ก็ยังคงมีปริศนา
และคำถามเกิดขึ้นมากมาย เช่น ทำไมต้องเจาะจงใช้ใบเสมา ? ,ทำไมไม่เลือกใบอื่น ?
ฯลฯ ซึ่งตัวผมเองก็ยอมรับตรงๆว่า ไม่รู้ เพราะมันก็ทำนองเดียวกับคำถามที่ว่า ทำไมตึกยาวต้องมีสีเหลือง ?
ก็เลยเป็นปริศนาที่ยังคงค้างคาและต้องค้นหาคำตอบกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม เสมาชมพู-ฟ้า และ ตราโรงเรียน ก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพ
และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพวกเราชาวสวนกุหลาบฯทุกคน ซึ่งจะไม่ยอมให้ใครมาลบหลู่ดูหมิ่น
หรือทำลาย แม้แต่น้อย และพวกเราก็ไม่ควรไปดูถูกเครื่องหมายของสถาบันอื่นด้วยเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น
จงหวงแหนและภูมิใจใน เสมา ของคุณเถอะ
ส.ก. ๔๑๖๔๖ |
 |
 |
21 ธ.ค. 47 / 20:11 |
 |
0
0
|
 |
|
 |
 |
|
followup id 97602
|
61.90.25.206
|
|
|
 |