 |
![[icon-delete : 101 bytes]](img/icon-delete.gif) |
" ได้ข่าวว่า AIS เปิด 3g แล้ว " |
 |
 |
เอไอเอสชิงเปิด 3จี คลื่น 900นำร่องวิดีโอคอลล์
นายวิกรม ศรีประทักษ์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทเปิดตัวบริการใหม่ "วิดีโอ คอลล์" หรือมือถือเห็นหน้าได้ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง "เอชเอสพีเอ" คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ หลังได้ไฟเขียวจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้เปิดบริการเชิงพาณิชย์ได้ทันที ไม่ต้องรอไลเซ่น 3จี ทั้งนี้ บริษัทลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ รวมทั้งสถานีฐาน 20 จังหวัด รวมจำนวน 220 สถานีฐาน เป็นเงินทั้งหมด 600 ล้านบาท
"ถือเป็นเทคโนโลยีที่คนไทยรอคอยมานาน และก่อนที่ประเทศไทยจะมี 3จี ทางเอไอเอสก็ตัดสินใจ ใช้เทคโนโลยีเอชเอสพีเอให้บริการบนคลื่น 900 ก่อน เพื่อสร้างประสบการณ์แก่ผู้ใช้งานก่อนจะได้ใช้เทคโนโลยี 3จี แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งที่เลือกคลื่น 900 มาทำ เพราะเป็นคลื่นเดิมที่เอไอเอสมีอยู่แล้ว และที่ผ่านมาเราพบว่าคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 2.1 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับเทคโนโลยี 3จี ที่สุด โดยเฉพาะคลื่น 900 ที่สามารถส่งสัญญาณครอบคลุมได้ไกล"
ส่วนงบประมาณที่ใช้ดังกล่าว ถือเป็นงบพัฒนาเครือข่ายปี 2551 ที่เตรียมไว้ราว 16,000 ล้านบาท โดย 3 จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ จะเปิดตัว และเริ่มให้บริการที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก วันที่ 6 พ.ค. นี้ จากนั้นจะเริ่มให้บริการที่กรุงเทพมหานครวันที่ 15 มิ.ย. 2551 ส่วนพื้นที่อื่นๆ จะทยอยให้บริการตามลำดับ โดยจะพิจารณาจากความต้องการในแต่ละพื้นที่ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้าสนใจและเริ่มใช้บริการราว 7 - 8 หมื่นราย ภายในปีนี้
บริการ วิดีโอ คอลล์ นี้ เป็นการให้บริการที่เอไอเอสต้องการให้แก่ลูกค้า เป็นการช่วงชิงความได้เปรียบ และทดสอบกระแสตลาด ก่อนจะได้ไลเซ่น 3จี โดยเฉพาะคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่รอความชัดเจนจากภาครัฐ ถือเป็นการทำงานบนสัญญาที่รับสิทธิอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่า ง ทีโอที และ เอไอเอส ที่ได้ทำเอ็มโอยูร่วมกันพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย
นายสรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า 3 จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 บนมาตรฐานไวด์แบนด์ซีดีเอ็มเอ (WCDMA) ที่คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเรียกกันว่า 3จี โดยสามารถรองรับการใช้งานรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (HSPA) ขนาด 7200 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งแตกต่างจากจีพีอาร์เอส หรือ เอดจ์ ที่ให้ความเร็ว 160 กิโลบิตต่อวินาที หรือต่างกัน 45 เท่า
ดังนั้นจึงสามารถให้บริการต่างๆ ได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ (High Speed Internet) โทรศัพท์แบบเห็นหน้า (Video Call) หรือบริการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ในลักษณะของวิดีโอ คลิป วิดีโอ สตรีมมิ่ง ฟูลซองมิวสิค วิดีโอ ฯลฯ ซึ่ง 3 จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ พร้อมเปิดให้บริการดังกล่าวทั้งหมด
พร้อมให้เหตุผลที่เรียกเปิดให้บริการที่เชียงใหม่ก่อน เพราะเห็นว่ามีความต้องการใช้ดาต้าบนมือถือค่อนข้างสูง ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ โดยมีตัวเลขระบุว่าคนเชียงใหม่ใช้บริการดาต้าบนมือถือเฉลี่ย 6 หมื่นราย ในจำนวนนี้กว่า 2,800 คน ที่ใช้บริการดาต้าบนมือถือเป็นประจำ ส่วนใหญ่ใช้เชื่อมต่อกับโน้ตบุ๊ค และดูเวบไซต์บนมือถือเป็นหลัก ขณะที่กรุงเทพฯ จำนวนคนใช้ดาต้าเป็นแสนคน ในจำนวนนี้กว่า 6-7 หมื่นคน ใช้ดาต้าเป็นประจำ ที่ผ่านมาตลาดรวมของผู้ใช้บริการดาต้าบนมือถือเติบโตเพิ่ม 20% |
 |
 |
11 เม.ย. 51 / 12:53 |
 |
0
0
MIC : n/a : n/a : n/a |
 |
|
 |
 |
|
view 1156 : discuss 4 : rating - : bookmarked 0 : vote 0
|
124.121.68.194
|
|