[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" เรื่องน่าเศร้าของเศรษฐศาสตร์ "
ลองแปลมาให้อ่าน และวิจารณ์อีก quoteครับ

"It is often sadly remarked that the bad economists present their errors to the public better than the good economists present their truths... But the basic reason for this ought not to be mysterious.
The reason is that the demagogues and bad economists are presenting half-truths. They are speaking only of the immediate effect of a proposed policy or its effect upon a single group. As far as they go they may often be right.
In these cases the answer consists in showing that the proposed policy would also have longer and less desirable effects, or that it could benefit one group only at the expense of all other groups. The answer consists in supplementing and correcting the half-truth with the other half.
But to consider all the chief effects of a proposed course on everybody often requires a long, complicated, and dull chain of reasoning. Most of the audience finds this chain of reasoning difficult to follow and soon becomes bored and inattentive"
-Henry Hazlitt


"เรื่องน่าเศร้ามีอยู่ว่านักเศรษฐศาสตร์แย่ๆมักจะนำเสนอผลงานที่ไม่ถูกต้องของตนไปสู่สาธารณชนได้ดีกว่านักเศรษฐศาสตร์ดีๆ ... แต่สาเหตุของเรื่องนั้นไม่น่าประหลาดใจเลย

นักการเมืองที่เล่นกับอารมณ์ (ไม่ใช่เหตุผล) ของมวลชน และนักเศรษฐศาสตร์แย่ๆนั้นมักอธิบายความจริงเพียงครึ่งเดียว พวกเขามักพูดถึงประโยชน์ของนโยบายที่จะเกิดขึ้นแต่เพียงเฉพาะหน้า หรือเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งก็อาจจะเป็นเรื่องจริง

การจะตอบโต้คนเหล่านี้จะต้องแสดงให้เห็นว่านโยบายนั้นๆ ส่งผลอะไรในระยะยาวที่ไม่พึงประสงค์ หรือส่งผลดีกับคนกลุ่มเดียวโดยเกิดค่าใช้จ่ายกับคนอื่นๆที่เหลือ ซึ่งก็คือการเปิดเผยความจริงอีกครึ่งหนึ่ง

แต่การจะพิจารณาถึงผลเสียต่อทุกๆคนนั้นต้องใช้เหตุผลที่ยาว ยาก และน่าเบื่อ ผู้รับฟังส่วนใหญ่ฟังได้ครู่เดียวก็เลิกแล้ว"
-Henry Hazlitt
08 ส.ค. 55 / 17:21
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
view 1919 : discuss 4 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 182.52.78.204

#1# - 673581 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ตอนแรกผมอ่านหนังสือพี่แก ก็เริ่มจะเอนตาม แต่อ่านไปเรื่อยๆ เริ่มเห็นต่าง Hazlitt แก austrian ก่อน
08 ส.ค. 55 / 21:01
0 0
Annie [icon smile : 92 bytes] (4828) : n/a : n/a : n/a
followup id 673581 112.119.110.12

#2# - 673582 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ดีครับ แล้วเห็นต่างเรื่องอะไรครับ?
08 ส.ค. 55 / 21:32
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673582 110.49.250.235

#3# - 673583 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ขอออกตัวว่าผมมีความรู้เสดสาด แค่งูๆปลาๆ และยังอ่านไม่จบนะครับ (80% ของ หนังสือผม อ่านไม่จบ ฮ่าๆๆ)

มีตอนนึงที่พี่แกพูดเรื่อง publicly-finance project เช่น low-income housing หรือสะพาน ว่าเป็นการ tax เอาเงินของ private sector ที่ควรจะถูกนำไปใช้อย่างอื่นที่ดีกว่า มาใช้โดยรัฐบาล (thesis คือ resource ที่ถูก allocated โดย free market ย่อมดีกว่าโดย government)

ทีนี้ผมจำไม่ได้ว่า Hazlitt แก argue against ขนาดไหน แต่ว่าถ้า take it to the extreme เราก็จะไม่มี โรงเรียนของรัฐ ให้ชาวบ้านที่ไม่มีโอกาส ได้เข้าเรียน ไม่มีโรงพยาบาลของรัฐ ไม่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี aerospace, military หรือแม้แต่ internet และทางการแพทย์ (ที่ต่อยอดมาจาก research ของรัฐ)

ทีนี้ scenario ที่เป็นไปได้ก็คือ private sector ก็จะทดแทนด้วยอะไรที่ดีกว่า เช่นใน alternate universe ที่ไม่มี publicly-funded expenditure ทุกโรงเรียนก็จะเป็นโรงเรียนเอกชน เด็กจนๆ ก็จะได้ทุนจากโรงเรียนพวกนี้ ที่แข่งขันกันพัฒนาคุณภาพ ชื่อเสียง ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้

ใน universe นี้ เราก็จะได้เทคโนโลยีอย่างอื่นแทนที่ถูกนำเงินเอาไปลงทุนแทนที่จะเป็นเทคโนโลยีทางทหาร ที่ดีกว่า (มี utility สูงกว่า) เทคโนโลยีที่เรามีทุกวันนี้เสียอีก เป็นไปได้ แต่จินตนาการยาก

ผมคิดว่า truly free market เวิกได้โดยอาศัย assumption หลาๆยอย่างที่ไม่เป็นจริงตอนนี้ และไม่มีทางเป็นจริงเร็วๆนี้ เช่น free movement of labor/population, lack of trade barrier, (expectation of) lack of government/central bank intervention
08 ส.ค. 55 / 22:15
0 0
Annie [icon smile : 92 bytes] (4828) : n/a : n/a : n/a
followup id 673583 112.119.110.12

#4# - 673593 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] Private Sector ยังรวมถึงองค์การกุศลด้วยครับ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงแต่อยู่ได้ยาก เพราะมีรัฐบาลเป็นคู่แข่ง
องค์กรการกุศลรับบริจาคตามสมัครใจ แต่รัฐบังคับเก็บภาษี .. เงินที่จะเหลือมาสู่การกุศลก็น้อยหน่อย

ผมเคยเขียนไว้นิดนึงเมื่อเดือนที่แล้ว ขออนุญาตก๊อปมาแปะให้ครับ
http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=68358
"เค้ามีงานวิจัยออกมาว่าองค์กรการกุศลเนี่ย งบ 100 นึงไปถึงกลุ่มเป้าหมายซัก 80 ส่วนรัฐบาลเนี่ย ไปถึงซัก 20
ผมลองคิดง่ายๆนะครับ เข้างาน 8 โมง เลิกงาน 4 โมงเย็น ถึงทำเต็มเวลาไม่มีอู้ หรืออู้เท่ากับเอกชนแค่นี้ก็หายไปแล้ว 12.5%
ทำงานเช้าชามเย็นชามหายไปอีกไม่รู้กี่ % โกงกินภายในหายอีกไม่รู้กี่ %"

ผมว่าความตั้งใจของสาย Austrian ก็เหมือนสาย Keynes สังคมนิยม ฯลฯ คือให้เกิดการกระจายรายได้ และพัฒนาความเป็นอยู่ของทุกคน แต่ความเชื่อหลักต่างกัน
สาย Austrian จะเชื่อในเสรีภาพของคน คือเชื่อว่าทุกคนควรตัดสินใจเองและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และเชื่อว่ารัฐมักจะตกเป็นเครื่องมือของคนรวยเสียมากกว่าครับ

เช่น เรื่องการศึกษา โรงเรียนรัฐที่ได้พูดถึง ขอก๊อปมาแปะจากกระทู้เดียวกับข้างบนครับ
"เช่น นโยบายการศึกษา ที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียนหนังสือในโรงเรียน x ปี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยมากนั้น ผมว่าแม้จะมีเจตนารมณ์ที่ดี แต่ผลลัพท์โดยรวมแล้วเป็นผลเสียกับคนจนมากกว่าครับ
ลองคิดถึงโรงเรียนเรา สตรีวิทยา หรือ เตรียมอุดม หรือมหาวิทยาลัยรัฐ... คนจนส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์เรียนครับ เงินภาษีเราส่วนใหญ่ตกไปอยู่กับ bureaucrats ที่เหลือจึงตกลงมาถึงคนรวย และชนชั้นกลางที่ได้สิทธิ์เข้าเรียน (โดยรวมชนชั้นกลางมักเป็นผู้ได้ประโยชน์สุทธิ--net benefits-- คนจน และคนรวยเป็นผู้เสียประโยชน์ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Director's Law ครับ)

คนจนส่วนใหญ่ได้เรียนในสถานศึกษาที่คุณภาพด้อยลงไป เสียเวลากับการอยู่ในชั้นเรียนโดยไม่ได้ความรู้มากนัก ได้พบเพื่อนที่อาจชวนกันเสียคน แทนที่จะได้ออกไปทำงาน.. ซึ่งเป็นการฝึกคนที่ประเสริฐกว่าการเรียนในห้องเรียนเป็นไหนๆ แถมยังได้เงินมาจุนเจือครอบครัวอีกต่างหาก
และเมื่อเขาพร้อมทั้งวุฒิภาวะ ฐานะการเงิน และเห็นความสำคัญของการศึกษาแล้ว ค่อยกลับไปเรียนยังจะมีประโยชน์เสียมากกว่า"
09 ส.ค. 55 / 07:36
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673593 182.52.78.71


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]