[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" ป.ป.ช. พ่อทุกสถาบัน "
ป.ป.ช. พ่อทุกสถาบัน

เก่ง วงศ์กล้า
keng_wongkla@hotmail.com

ร้อนแรงแซงทุกประเด็นจริงๆ สำหรับนโยบาย “รับจำนำข้าวเปลือก” ที่ใครต่อใคร ต่างก็พร้อมใจกันหยิบยก ขึ้นมาเป็นโจทก์วิพากษ์วิจารณ์

ทั้งผลของการนำนโยบายมาปฏิบัติ ว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ช่องทางให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ย้อนกลับไปถึง การตัดสินใจของรัฐบาล ที่นำนโยบายนี้กลับมาปัดฝุ่นใช้อีกครั้ง

หากพอจำกันได้ เมื่อวันอังคารที่ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา กระผมเพิ่งนำเสนอบทความวิจัย จากการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 เขียนโดย นายกิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ นายธนพร ศรียากูล และ ดร.ชยงการ ภมรมาศ

เรื่อง “นโยบาย “ประชานิยม” กับการสร้าง/ลด “ความเหลื่อมล้ำ” และ “ความไม่เป็นธรรม” ทางเศรษฐกิจ: ข้อเสนอเชิงประจักษ์ว่าด้วยการแบ่งสรรผลประโยชน์ในธุรกิจค้าข้าวของไทย” ไปหยกๆ

ว่าโครงสร้างการแบ่งสรรผลประโยชน์ ระหว่าง ชาวนา โรงสี และผู้ส่งออก ในห้วงนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก ก่อนหน้ารัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ชาวนาได้รับการแบ่งสรร ในสัดส่วนที่ต่ำทีสุด เพียง ร้อยละ 17 ขณะที่โรงสี ได้รับร้อยละ 22 และผู้ส่งออก ได้รับในสัดส่วนที่สูงที่สุด ร้อยละ 61

จะด้วยความบังเอิญ หรือเป็นโชคร้ายของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่นำนโยบายนี้กลับมาใช้อีกครั้ง หลังจากที่เปลี่ยนไปใช้นโยบาย “ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว” ในช่วงรัฐบาลที่แล้ว

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute - TDRI) ก็ออกมาแถลงผลการวิจัย เกี่ยวกับนโยบายับจำนำข้าวเปลือก ย้ำตัวเลข ร้อยละ 17 อีกครั้ง

ด้วยการผลิตซ้ำของทั้ง นายกรณ์ จาติกวณิช และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต รองหัวหน้า และโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึง พี่น้องสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เอง

ว่างบประมาณที่รัฐบาลทุ่มลงไป มูลค่าเกือบ 3 แสนล้านบาทแล้วนั้น ถึงมือชาวนาจริงๆ เพียงร้อยละ 17 ส่วนอีกร้อยละ 83 ที่เหลือนั้น หล่นไปเข้ากระเป๋าสตางค์ใครบ้าง... ไม่ทราบ

แค่การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ คำนวณตัวเลขคนละชุด ชุดหนึ่งคือราคา ชุดต่อมาคืองบประมาณ ในเรื่องเดียวกัน สำหรับคนกลุ่มเดียวกัน แต่ดันได้ตัวเลขออกมาตรงกัน ก็ถือว่าปาฏิหารย์ ของเขาแรงมากพออยู่แล้ว

มาเจอ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริลักษณ์ คอมันตร์ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการฝ่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ตีโพยตีพายว่า ศูนย์วิจัย ป.ป.ช. เคยศึกษา และเสนอมาตรการไปยังรัฐบาล ตั้งแต่สมัย นายสมัคร สุนทรเวช รวมถึง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก

เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสีย แก่งบประมาณของรัฐโดยใช่เหตุแล้ว ยังเป็นช่องทางสำคัญ ที่เอื้อให้เกิดการทุจริตได้อีกด้วย

แต่การตอบรับ เพิ่งมีมาในสมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยการปรับเปลี่ยนมาเป็น นโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแทน

ครั้นเมื่อพรรคเพื่อไทย กลับเข้ามาทำหน้าที่ ผู้นำจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง ก็ตัดสินใจ กลับไปใช้นโยบายรับจำนำข้าวเปลือกอย่างเคย โดยไม่สนใจไยดี แม้ทาง ศูนย์วิจัย ป.ป.ช. จะได้ทำหนังสือในลักษณะเดียวกันไปก็ตาม

งานนี้ ดร.สิริลักษณ์ คอมันตร์ จึงออกมาเดินหน้า ผลักดันให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาว่า การกระทำของรัฐบาลเช่นนี้ จะเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่

และจะใช้มาตรา 157 หรือมาตราใด เอาผิดกับรัฐบาลได้บ้าง เพราะถือว่าเป็นการดำเนินนโยบายผิดพลาดโดยจงใจ ก่อให้เกิดการทุจริต ก่อให้เกิดความเสียหายกับงบประมาณเป็นแสนล้านบาท

รวมทั้ง ป.ป.ช. ก็ได้เสนอมาตรการไปยังรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แต่กลับเพิกเฉย ถือเป็นความผิดในฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ได้หรือไม่…

ประเด็นเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ ไม่มีอะไรหนักใจนักครับ เพราะกระผมเองก็เคยนำเสนอ ว่าแม้สัดส่วนที่ชาวนาได้รับ ไม่ว่าจะโดยการคำนวณผ่านราคา หรืองบประมาณของรัฐก็ตาม ดูจะน้อยนิด คิดออกมาตรงกันได้แค่ร้อยละ 17

แต่หากพิจารณากันในแง่ของเม็ดเงิน สมัคร นายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลตั้งราคาจำนำ สูงถึงราวตันละ 14,000 บาท หักค่าความชื้น นู้น นี่ นั่น โน่น ชาวนาได้แน่ๆ ตันละ 12,000 บาท สบายๆ

ขณะที่สมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลตั้งราคาประกันไว้ราว 10,000 ถึง 11,000 บาท หักค่าความชื้น รวมถึงส่วนต่างจากราคากลางอ้างอิง ที่โรงสีโขกเอากับชาวนา อย่างเก่ง ชาวนาก็รับเงินสดๆ ไปเพียง ตันละ 8,500 บาท

ยกเอาอคติ ว่าชาวนาขาดการศึกษา โง่ เซ่อ ถูกนายทุนหลอกเอาง่ายๆ เก็บไว้สักประเดี๋ยว แล้วดูตัวเลขรายรับ อย่างใจเขาใจเรา 12,000 บาท กับ 8,500 บาท เป็นกระผม กระผมก็เลือกนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกครับ

สารขัณฑ์ประเทศแห่งนี้ ใช้นโยบายบูชายัญชาวนา เพื่อหล่อเลี้ยงระบบการผลิต ภาคอุตสาหกรรม มาหลายสิบปีแล้วครับ กดราคาข้าวให้ถูก เพื่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จะได้มีอัตราค่าครองชีพไม่สูง

เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะได้สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้ในราคาต่ำ สินค้าที่ผลิตได้ ก็จะได้มีต้นทุนไม่สูง เมื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ก็จะได้มีราคาที่แข่งขันได้

ความเคยชินกับเรื่องแบบนี้ ทำให้ผู้บริหาร รวมถึงสมาชิกร่วมประเทศจำนวนมาก เชื่อว่าชาวนาควรจะมีฐานะทางเศรษฐกิจ ที่เข้าข่ายยากจน และต้องจน

เท่าๆ กับที่เขาต้องทำงานหนัก เป็นกระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกร่วมประเทศของเขาซาบซึ้ง และต่างหวังกันอยู่ลึกๆ อย่างไม่รู้ตัวว่า ควรจะ และต้องเป็นเช่นนี้ ต่อไป ผ่านสารพัดวาทกรรม

การช่วยเหลือให้ชาวนาสามารถลืมตาอ้าปาก มีทรัพย์สินเงินทอง สามารถซื้อรถกระบะ โทรศัพท์มือถือ เดินห้างสรรพสินค้า ดูทีวีดาวเทียม ได้เช่นเดียวกับคนในเมือง

จึงเป็นเรื่องที่ใครหลายคนยอมรับไม่ได้ ยอมไม่ได้ที่จะเสียสตางค์แม้แต่นิดเดียว เพื่อให้ชาวนาได้มีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ตนเองอาจต้องซื้อข้าวในราคาที่แพงขึ้น

ตนเองอาจต้องจ่ายค่าแรงกรรมกรที่สูงขึ้น ตนเองอาจต้องมีภาระด้านต้นทุนในการผลิตสินค้าที่สูงขึ้น กระทั่งตนเองตองเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นในการทำตลาด เพื่อขายสินค้าที่มีความสามารถในการแข่งข่นด้านราคาลดลง

เหตุการณ์ ณ ขณะนี้ หากถามนักเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน หรือนักการเมืองฝ่ายจ้องจะค้าน ก็คงได้รับคำตอบคล้ายๆ กัน คือ ห่วย แย่ สร้างปัญหา ก่อภาระทางการคลัง เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต

ตรงกันข้าม หากไปถามชาวนา คำตอบที่ได้สั้นๆ ไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก ก็คือ “นึกว่าช่วยชาวนาก็แล้วกัน” ไม่มีอะไรที่ดูเป็นวิชาการ มีเครื่องหมาย หรือตัวเลขซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มีแต่เงินสดๆ กับชีวิตที่ดีขึ้น

2-3 วันก่อน เห็นพาดหัวข่าว ว่า นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมาชี้แจง ว่าเป้าหมายของนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก คือชาวนา

ผลสัมฤทธิ์ของนโยบาย จึงต้องวัดจาก “ความพึงพอใจ” ไม่ใช่ความคุ้มค่าของงบประมาณ หรืออะไรทั้งสิ้น ซึ่งเท่าที่ผ่านมา ผลการวิจัย รวมถึงโพลล์ต่างๆ ก็ชี้ไปในทิศทางบวกทั้งสิ้น

อีทีนีถ้าใครสนใจ อยากรู้ว่าเงินอีกร้อยละ 83 มันไม่ควรที่จะไปตกอยู่กับโรงสี และผู้ส่งออก หรือหายไปในอากาศแบบนี้ ก็ต้องช่วยไปคิดว่าวิธีกันแล้วหละครับ ว่าจะทำเช่นไร ที่แน่ๆ ไม่ใช่การทำให้ชาวนาได้เม็ดเงินน้อยลงอีกต่อไป

ที่หนักหนา เห็นจะเป็นกรณีของ ดุษฎีบัณฑิตจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวายอิ อดีตคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เองเรียกว่า “การแทรกแซงราคาโดยรัฐบาล”

เพราะไม่ว่าจะรูปแบบไหน การรับจำนำข้าวเปลือก หรือการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เอาเข้าจริง ก็คือ “การประกันราคาขั้นต่ำ” หรือที่ภาษาอังกฤษเขาใช้ว่า “Price Support”

1 ใน 2 วิธีการแทรกแซงราคาสินค้าของรัฐบาล ที่หนังสือ “เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น” ของ รองศาสตราจารย์ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน อดีตเพื่อนร่วมงานของ ดร.สิริลักษณ์ คอมันตร์ นั่นแหละ เขียนไว้โต้งๆ

จึงออกจะเป็นเรื่องขบขันแบบฝืดๆ อยู่สักหน่อย ที่นักเศรษฐศาสตร์ด้วยกันเองอีกนั่นแหละ จะออกมาโวยวายเชิงเครื่องมือ

ทั้งยังโจมตีเลยเถิดไปถึงว่า รัฐบาลคงอ้างว่าเป็น “นโยบายที่ได้หาเสียงไว้แล้ว” ซึ่งข้อนี้นี่เอง ที่ ดร.สิริลักษณ์ คอมันตร์ น่าจะพึงตระหนักให้จงดีไว้ด้วยเช่นกันว่า

นโยบายที่พรรคการเมืองเขาได้หาเสียงไว้แล้ว และประชาชนเลือกให้เขาเข้ามาทำหน้าที่จัดตังรัฐบาล หลายความว่ามันเป็นนโยบายที่ประชาชนเขาต้องการ เขาเลือกให้เขามาปฏิบัติตามที่หาเสียงไว้

มันไม่ใช่ข้ออ้าง แต่เป็นข้อผูกพัน ที่รัฐบาล หรืออย่างน้อยที่สุดก็พรรคเพื่อไทย แกนนำจัดตั้งรัฐบาล เขามีต่อประชาชน หรืออย่างน้อยที่สุดอีกเช่นเดียวกัน คือประชาชนผู้ที่ออกเสียงเลือกเขาเข้ามา

อำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ไม่ว่าจะเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542

หรือกฎหมายอื่น อาทิ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542

ล้วนมีไว้เพื่อให้ ป.ป.ช. สามารถทำหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการ ในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ คอยป้องกันและปราบปรามการกระทำใดๆ ที่เข้าข่ายทุจริต และยังความเสียหายให้เกิดขึ้น

มิใช่ก้าวก่าย ลุกขึ้นมาชี้ว่านโยบายอย่างนี้ทำได้ อย่างนี้ทำไม่ได้ เพียงเพราะมันอาจก่อให้เกิดช่องโหว่ เปิดทางให้เกิดการทุจริต เพราะถ้าว่ากันเช่นนี้ นโยบายไหนๆ ในสารขัณฑ์ประเทศแห่งนี้ มันก็เข้าข่ายต้องห้ามทั้งสิ้นนั่นแหละ

รัฐบาลไม่ต้องเป็นอันทำการทำงานอะไร เพราะวัฒนธรรมบ้านเรา ตั้งแต่โครงการจัดซื้อจัดจ้างเล็กๆ น้อยๆ ตามหน่วยงานชายแดน งบประมาณไม่กี่สตางค์ มาจนถึงกลางกรุง หลักหมื่นล้านแสนล้าน มันก็หาช่องโกงกันจนได้

ในฐานะที่ ป.ป.ช. ก็เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหนึ่ง ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้มาทำหน้าที่ทำนองนี้ หากพิสูจน์ความผิดได้จริง ก็ดำเนินการไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่มีใครคัดค้าน หรือมีปัญหาแน่นอน

ดันเล่นออกมาอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ลอยๆ แบบนี้ คิดแบบโพซิทีฟ ติ้งกิ้ง งานนี้ ป.ป.ช. ก็ยังตกที่นั่ง เป็นพวก “ขี้เกียจ” หรือไม่ก็พวก “ทำทุกอย่าง เว้นงานในหน้าที่ ไปทุกที่ เว้นที่ทำงาน”

แต่หากคิดแบบ เรียลลิสติก ติ้งกิ้ง หรือคิดแบบคนที่ไม่ชอบขี้หน้ากัน เขาก็จะจั่วหัวแรงๆ อย่างเช่นที่ปรากฎขึ้นแล้ว ในห้องราชดำเนิน ของพันทิปดอทคอม ว่า ป.ป.ช. กำลังทำตัวเป็น “พ่อทุกสถาบัน”

ไม่ต่างจากที่ ศาลรัฐธรรมนูญ เพิ่งออกมาโชว์ลวดลาย ลักไก่วางหลักใหม่ เกี่ยวกับอำนาจของศาลรัฐธรมนูญ ในการรับคำร้อง ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ก่อนจากกันวันนี้ ขออนุญาตฝากเตือนสติ ผู้เสพข่าวทุกท่าน ว่าถึง ดร.สิริลักษณ์ คอมันตร์ จะจบปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

แต่ก็เป็นปุถุชน คนเดินดิน กินข้าวแกง แบบเราๆ ท่านๆ นี่แหละ ไม่ใช่ “ศาลดา” หรือ “ประกาศก” ผู้ประกาศ “สัจธรรม” ที่ถูกต้อง เป็นนิรันดร์ หรือโต้เถียง เห็นแย้ง อะไรไม่ได้อีกต่อไป ดอกนะครับ

ของแบบนี้ ฟังหู ไว้หู ก็ดีเหมือนกัน...

--------------------------------------

ที่มา: เก่ง วงศ์กล้า (นามแฝง). 2555. “ป.ป.ช. พ่อทุกสถาบัน.” สยามรัฐ (14 สิงหาคม 2555): 6. <http://www.scribd.com/doc/102730416/%E0%B8%9B-%E0%B8%9B-%E0%B8%8A-%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99>;
13 ส.ค. 55 / 18:21
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
view 2186 : discuss 3 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 158.108.137.165

#1# - 673683 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มีคำถามครับ...
"นโยบายบูชายัญชาวนา เพื่อหล่อเลี้ยงระบบการผลิต ภาคอุตสาหกรรม มาหลายสิบปีแล้วครับ กดราคาข้าวให้ถูก เพื่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จะได้มีอัตราค่าครองชีพไม่สูง"

ที่ออกมาเป็นรูปธรรมยังไง พอยกตัวอย่างได้มั้ยครับ?
13 ส.ค. 55 / 21:27
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673683 110.49.249.205

#2# - 673685 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ระหว่างที่รอ finn (หรือ เก่ง วงศ์กล้า หรือกิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ) มาตอบ ผมขอพูดถึงจุดที่ไม่เห็นด้วยดังนี้ครับ

1. (ผมเคยเขียนไว้แล้ว โดยไม่ได้รับคำตอบโต้ชี้แนะแต่อย่างใด) ผมไม่สนับสนุนทั้ง 2 นโยบาย
ขอเขียนเพิ่มเติมว่า จุดต่างสำคัญที่สุดก็แค่ตัวเลข 11000 หรือ 15000 เท่านั้น
ซึ่งสำหรับตัวผมที่่ไม่สนับสนุนทั้ง 2 นโยบาย ตัวเลข 11000 ดูเข้าท่ากว่า และรวมกับตัวเลขช่องโหว่ในการทุจริตที่ต่ำกว่า ก็เรียกว่าเลวน้อยกว่าในสายตาผม
ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์เสนอให้จำนำข้าวที่ราคา 8000 บาท ผมคงสนับสนุนทันที :)

2. "การกดราคาข้าวให้ถูก" นั้นถ้าเกิดขึ้นก็ถือว่าน่ารังเกียจมาก แต่การบังคับให้คนต้องซื้อข้าวแพงก็น่ารังเกียจเช่นกัน เพราะคนที่ถูกผลกระทบร้ายที่สุดน่าจะเป็นคนรายได้น้อย

3. ผมไม่เห็นด้วยกับตรรกะต่อไปนี้ีี้อย่างรุนแรง.... "เป้าหมายของนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก คือชาวนา ผลสัมฤทธิ์ของนโยบาย จึงต้องวัดจาก "ความพึงพอใจ" ไม่ใช่ความคุ้มค่าของงบประมาณ หรืออะไรทั้งสิ้น" ---- แม้จะอ้างว่าเป็นความเห็นของนายก และผู้เขียนเอามาขยายต่อเท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรก็ตามต้องมีการวัดผล 3 ด้านหลัก คือคุณภาพ ค่าใช้จ่าย และระยะเวลา การที่โครงการระดับชาติจะวัดผลแค่ความพึงพอใจเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมไม่ถูกต้อง

4. ในภาพใหญ่กว่า.... ในสายตาผม ชาวนา (หรือแม้แต่แรงงานที่ได้รับค่าแรง 300 บาท) ก็เป็นนักธุรกิจประเภทหนึ่ง ทำไมถึงควรได้รับความช่วยเหลือมากกว่านักธุรกิจประเภทอื่น?
14 ส.ค. 55 / 16:40
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673685 182.52.78.188

#3# - 673696 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ไม่จริงครับ ถามเด็กอุเทน, มีนโป, โนทุม ,ทุมวัน , โนปิ, บูรพน(เปลี่ยนชื่อแล้วจำไม่ได้), ช่างอุต(กท) ไทยวิจิตรศิลป์ , ตะละภัฏ(อดีต), ราชสิทธิ , พระรามหก

ถามพวกนี้ยังครับ ว่ายอมให้ ป.ป.ช ได้รับวลีนี้ยัง ?
22 ส.ค. 55 / 11:18
0 0
armeng [icon smile : 92 bytes] (7588) : n/a : n/a : n/a
followup id 673696 58.137.14.42


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]