[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" นักศืกษามหาวิทยาลัยเอกชน นักศืกษาที่แตกต่างและน่าที่งมาก "
มหาวิทยาลัยเอกชน นักศืกษาที่แตกต่าง และน่าทื่งมาก

ออกจากจุฬา รับงานUN ต่อ เสร็จงาน UN ว่าง เลยไปสอนมหาวิทยาลัยเอกชนหนื่งปี ผมจืงเข้าใจนักศืกษาม เอกชนดี พวกเขามีคุณสมบัติพิเศษ และวิธีคิดที่ตรงกับโลกที่เป็นจริงมาก ผมชื่นชมพวกเขา

ในโลกของ alumni ผมพบนักเรียนสวนกุหลาบที่จบมาจากมหาวิทยาลัยเอกชน เป็นเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้สูง หลายร้อยคน ใน@SK Recruitment น้องๆเข้ามารับสมัครงานบัณฑิตสาขาต่างๆ

เราพบเห็นเพื่อนใน fb มากมายจบมาจาก ม เอกชน ทำงานธุรกิจเพียบ

เพื่อนนักเรียนมัธยมรุนเดียวกับผม หลายคนไม่ได้เรียนต่อ หลังจบ ม3 บางคนเป็นนักเรียนห้องคิง เหตุเพราะต้องออกไปช่วยพ่อแม่ค้าขาย บางคนไม่มีตังค์เรียนต่อ ตอนนี้หลายๆคนรวยกว่าเพื่อนในรุ่น บางคนมี11หลัก เพื่อนคนหนื่งตัดสินใจออกไปต่อ ACC เจออีกทีตอนอายุ 30 หมอเป็นเจ้าของโรงงานผลิตลูกอมขายใน 33 ประเทศ

คนหลังเนี่ยมันขับรถสปอร์ตในวัย 50 มีขวดไวน์หลังรถ ออกตระเวณทุกคืน บอกว่าต้องเซอร์เวย์ตลาด พบผู้คน 55มาแนวเดียวกับเพื่อนที่ผลิตชุดชั้นในผู้หญิง มันบอกว่าต้องไปถามว่าซื้อเดือนละกี่ชิ้น "ซส์ รูปแบบ คู่แข่ง ตลาดนี้เป็นแสนล้าน

กลายเป็นว่าพวกออกไปตั้งธุรกิจแต่เด็ก ประสบความสำเร็จใหญ่โต ยุคนั้นคู่แข่งน้อยมาก

นักเรียนอัสสัมชัญร้อยคนตรงแน่วไปเข้าเอแบค เหมือนๆกับนักเรียนคริสเตียน เซนต์คาเบรียล แต่น้อยกว่า โรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนสร้างนักธุรกิจที่สำคัญของประเทศ เหมือนๆกับสวนกุหลาบ มาแตร์ เตรียมอุดม สามโรงเรียนหลังเข้าเอกชนไม่มาก จบแล้วไปต่อนอก

นักธุรกิจใหญ่ของไทยจำนวนมาก จบจากโรงเรียนจีน ไม่เคยเรียนมหาวิทยาลัย
เจ้าของกิจการจำนวนมากไม่เคยเรียนจุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตร บางทีเรียนมหาวิทยาลัยเหล่านี้ทำให้ไม่กล้า ศักดิ์ศรีเยอะ

สถิติของอเมริกาบอกว่า มีอาชีพถืงห้าแสนอาชีพในโลก มีอาชีพใหม่เพิ่มขื้นปีละ สองหมื่นห้าพันอาชีพ มหาวิทยาลัยสอนวิชาได้ไม่เกินพัน จืงขื้นอยู่กับการประยุกต์
หลายๆอาชีพที่รายได้สูงไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย

คนที่เข้ามหาวิทบาลัยเอกชนมีหลายแบบ ตั้งใจไปเข้าเลย เพราะมีแผนธุรกิจครอบครัวชัดเจน คณะที่สอบได้ไม่ตรงกับอาชีพที่ต้องการ คณะที่สอบได้ต้องไปทำงานต่างจังหวัด

บางคนสอบไม่ได้ เพราะสนใจเรื่องอื่น สนใจคน ทำกิจกรรมเยอะ พวกนี้เก่งนะครับ พวกทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยรัฐจำนวนมากคะแนนไม่ดี ตอนทำงานกลับรุ่งมาก เด็กที่ไปเข้าเอกชนจำนวนมากก็แนวนี้

หลายๆคนมาจากต่างจังหวัด อยากมาเรียนในกรุงเทพ รู้จักศิวิไลซ์ สัก 4-5 ปี ม รัฐใกล้บ้านมีไม่เรียน มีตังค์นะครับ ค่าเทอมเอกชนแพง

พ่อค้าอีเลกโทรนิกส์รายใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ไม่สนใจให้ลูกสอบเข้า ตั้งใจให้เรียนเอกชน มาขายสินค้าเงินผ่อน เลือกสาขาแล้วเรียนเลย ตังค์มี ความรู้ก็เรียนจากพ่อ แม่

ขอเพียงโรงเรียนสร้างเด็กให้กล้า มั่นใจ เรียนรู้ และมีมานะก็ไปได้

ผมไม่เคยเห็นรุ่นพี่ รุ่นน้องที่ได้ทุนคิงส์ เป็นนักธุรกิจใหญ่สักคน

รามคำแหง สร้างคนที่ผิดหวังขื้นมาเป็นผู้นำมากมาย ขอเพียงโอกาส ธรรมศาสตร์ยุคเดินเข้าก็เหมือนกัน

อธิการอัสสัมชัญบอกว่า คนที่จบเอแบค จบมาหกเดือนมีงาน 75% ครบปีมีงาน88% ที่เหลือเรียนต่อ สวยด้วย ลูกผมบอก เอแบคดังบริหารธุรกิจ ภาษา นิเทศน์

ดูสถิติ ม กรุงเทพ มีงานทำ80% เหมือนกัน มีรายงาน

หอการค้าบอกว่า จบมามีงานทำ85% ครบปีมีงาน100%

แต่ต้องเผยแพร่ข้อมูลว่า ทำงานอะไร ราชการเท่าไร เงินเดือนเท่าใด ทำวิจัยมากมาย เรื่องงานของบัณทิตควรเผยแพร่เป็นอันดับหนื่งครับ รายงานตามสแตนดาร์ด

รังสิตไม่บอกสถิติ มธบ ไม่มีสถิติเผยแพร่ แต่อธิการบอกว่าได้งานหมด

ตอนนี้ ขอให้เปลี่ยน mindset คือ ต้องมองคนเป็นคน รู้ว่าทุกคนมีความสามารถ บางบุคลิกก็เหมาะกับบางอาชีพ เด็กหลังห้องที่โรงเรียนสวนกุหลาบขื้นมาเป็นคนดัง เป็นปลัดกระทรวง เป็นtycoon เยอะไป

ถ้าคนอยากเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน ส่งสินค้าผลไม้เข้าเทสโก้ เปิดร้านถนนข้าวสาร ส่งไก่เข้าตลาดวันละแสนตัว ขายของจตุจักร ขายกุ้งเผา รับขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก 50 คัน เป็นโปรโมเตอร์มวย ค้าที่ดินด่านชายแดน รายได้มหาศาล

เค้าควรสอบเข้าเรียนคณะอะไรหรือ

ประสบการณ์ชีวิต บอกว่า อย่ามองข้ามคน คนจำนวนมากทิ้งเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เข้ามอดัง คิดผิดมาก
คนที่อยู่ต่างจังหวัด เรียนราชภัฎ ราชมงคล คือคนที่จะเป็น tycoon จังหวัด

ต้องไม่ดูถูกคนครับ

แต่ ม เอกชนก็มีข้อพืงระวังหลายเรื่อง......
28 เม.ย. 57 / 08:43
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
view 1783 : discuss 0 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 61.90.0.43


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]