[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" แต่ มหาวิทยาลัยเอกชนมีปัญหาหลายด้าน....... "
แต่ มหาวิทยาลัยเอกชนมีปัญหาหลายด้าน.....

ขอให้ผมพูดความจริงทั้งหมดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเอกชน เพราะการเข้าเรียนหมายถืงเงิน เวลา ความรู้สืกที่อาจเสียไป
มหาวิทยาลัยเอกชนแต่ละแห่งต่างกัน
ในส่วนที่ผมเห็น

หนื่ง นักศืกษามหาวิทยาลัยเอกชนประมาณครื่งหนื่งลาออก เมื่อจบชั้นปีที่หนื่ง ด้วยหลายสาเหตุ
>กู้เงิน กยศ ไม่ได้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งโฆษณาให้นักศืกษาเข้าเรียนโดยบอกว่ามีทุน กยศมาก
>นักศืกษาไม่พอใจบรรยากาศห้องเรียน การเรียนในชั้น เพื่อน อาจารย์ สังคม
>ลาออกไปสอบเข้าใหม่ ที่อื่น เรียกว่า ซิ่ว
.> ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายแพง เรียนไปไม่คุ้ม ไม่มีเงินเรียน
ผมเคยคิดเลขเล่นๆว่า รายได้ที่มหาวิทยาลัยเอกชนได้รับจากเด็กที่มาเรียนหนื่งปีแล้วลาออกเป็นเงินหลายพันล้านบาท เป็นความสูญเสียของนักเรียนและผู้ปกครองต่อเนื่องนับสิบปี บางมหาวิทยาลัยตั้งค่าเทอมปีแรกสูง แล้วค่อยๆลดลง
ตอนปีสอง การลาออกยังมีต่อเนื่องในหลายคณะ การวางแผนการสอนยุ่งมาก จิตใจของคนที่เรียนต่อย่อมอ่อนไหว
ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ดูให้แน่ใจ แม้กระทั่งโครงการพิเศษแนวอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยรัฐก็ต้องระวัง เช่น วิศวะนานาชาติของมธ เข้าปีหนื่ง 800 จบเพียง 300 ค่าเรียนแพงนะครับ MUIC SUIC ก็เช่นกัน

สอง อุปกรณ์การสอน เครื่องมือ แลบ สถานที่ฝืกงานเช่น โรงพยาบาล ห้องสมุด บรรยากาศการสัมมนา โครงการแลกเปลี่ยนกับต่างชาติ มหาวิทยาลัยเอกชนเทียบมหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้ ความพร้อมไม่มี
ที่จุฬา รายจ่าย50% มาจากรายได้ทรัพย์สืนมหาวิทยาลัย อีก 30% มาจากงบประมาณ อีก 20% มาจากค่าหลักสูตร เงินวิจัยที่อาจารย์หากันมา ค่าเทอมนิสิตน้อยมาก

สาม บรรยากาศ ความพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวก สบาย เช่น สภาพแวดล้อม
ความปลอดภัย อาหาร ราคาอาหาร ที่พัก ราคา ต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐมาก

สี่ มหาวิทยาลัยของรัฐจะมีอาจารย์ประจำคับคั่ง หลากหลายสาขา มีอิสระเสรีในการปรับหลักสูตรทุกสองสามปี วิชาเดิมแต่เนื้อหาเปลี่ยนทุกปี ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนต้องมีคณะกรรมการภายนอก อาจารย์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ แก่ๆ เข้ามาติดตามเกรด นักศืกษาโดยเฉลี่ยจะได้คะแนนต่ำ

ห้า หลักสูตรของมหาวิทยาลัยเอกชนจะล้อตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยรัฐ เพื่อเทียบเคียง ให้ผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการอุดมศืกษา การเปลี่ยนหลักสูตร เพิ่มหลักสูตร เปลี่ยนเนื้อหาทำได้ยากมาก ใช้เวลาเป็นปีสองปี ส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐเปลี่ยนกันเองได้เลย หลักสูตรจำนวนมากจืงโบราณมาก

หก อาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยเอกชนค่อนข้างขาดงานวิจัยอย่างแรง อาจารย์น้อย โหลดงานหนัก ทุนไปต่างประเทศไม่มี ซื่งมีผลต่อเนื้อหาที่จะสอนนักศืกษามาก

กรณีของผมที่เล่าให้ฟังเมื่อวาน เนี่ย เป็นกรณีพิเศษ ไปสอนสนุกๆ เปลี่ยนบรรยากาศ แล้วสอนแบบนอกกรอบ 55 ความจริงก็คือ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ยังพยายามเอานักว่ายน้ำไปสอนยกน้ำหนักอยู่นั่นเอง ซื่งไม่มีทางสู้ได้

มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งมีปัญหาสิ่งแวดล้อม ภายนอก ภายในอยู่เหมือนกัน

มหาวิทยาลัยเอกชนที่ทำวิจัยเรื่องเศรษฐกิจ บริหารธุรกิจมาก คือ หอการค้าไทย บัญชีที่นี่มีชื่อเสียง มีอาจารย์ส่งไปเรียนนอกกลับมาเยอะ

เอแบกเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวงการธุรกิจ ภาษาศาสตร์ แต่แพงนะครับ

สิ่งสำคัญคือ จะต้องสอนหลากหลายอาชีพที่คนไม่รู้จัก
ผมหวังว่า มหาวิทยาลัยเอกชน จะต้องสื่อสารบอกสังคม เรื่องต่อไปนี้

รายชื่ออาจารย์ ตามจริง
ค่าใช้จ่ายในการศืกษา
ตัวเลขการลาออกของนักศืกษา
ตัวเลขผู้สำเร็จการศืกษาเทียบกับที่เข้าเรียน
รายงานการมีงานทำและรายได้

กระทรวงศืกษาต้องเปลี่ยนทัศนคติเยอะเลย
ผมพูดความจริงทั้งหมดแล้วนะครับ
28 เม.ย. 57 / 08:52
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
view 2336 : discuss 1 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 61.90.0.43

#1# - 676426 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] อ่านได้ที่ fb somkiat osotsapa
03 พ.ค. 57 / 09:24
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676426 115.87.44.182


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]