[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" รายได้ของแพทย์ "
มีเพื่อนเพจซื่งท่านเป็น Resident ของจุฬากรุณาอธิบายให้ฟังว่า
รายได้ของแพทย์จบใหม่ใช้ทุนก็อยู่ราวๆ 50000-90000 เงินเดือน 15000 คตส 5000 ค่าไม่ทำงานนอก 10000 ที่เหลือคือค่าเวร
วงเล็บของผม ทำไมเงินเดือนน้อยจังหว่า เรียน 6 ปี ให้หมื่นห้าเอง
-------------------
ต่อจากนั้นก็ต่อเฉพาะทาง เอาว่า 3 ปี เรียกว่า resident จบมา ถ้าอยู่ รพ รัฐ ราว 50000 -100000 รพ เอกชนราว 150000 ถ้าเป็นระดับอาจารย์แพทย์ชำนาญมากก็ราวเดือนละเป็นล้าน
แต่ยังไเรียกว่าปริญญาโท เรียกประกาศนียบัตรชั้นสูง resident
---------------------------------
ต่อจากนั้นจะมีต่อเฉพาะทางต่อยอด อีก 2 ปี เรียกว่า Fellow อันนี้จุฬาเรียกว่า ปริญญาโท เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท
โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น
แต่อกหักเพราะรักหมอเนี่ยไม่รักษาให้นะครับ ตอนเรียน เพือนผมคนหนื่งอกหัก เพราะถูกหาว่าเล็บยาว
นี่คือระบบของจุฬา ที่เรียกปริญญาโท
รายได้คนจบปริญญาโท สูงกว่า resident หลายเท่า
09 ต.ค. 58 / 00:03
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
view 53201 : discuss 8 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 171.96.171.166<=171.96.171.166

#1# - 676653 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] รายได้จบโทราว 250000 บาทต่อเดือน
12 ต.ค. 58 / 04:05
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676653 171.96.173.60 <= 171.96.173.60

#2# - 676659 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] Ittaporn Kanacharoen


11 ชม. &middot; กรุงเทพมหานคร &middot;

.

คุณลุงท่านหนึ่งถามมาหลังไมค์ว่า : แพทยสภามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กี่สาขา อะไรบ้าง ครับเวลาไปโรงพยาบาลรักษาจะได้เจาะจงถูก?

ตอบ: แพทย์ไทย หลังเรียนจบ 6ปีแล้วจะเรียนต่อสาขาต่างๆ เพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้อีก 82 สาขา โดยใช้เวลาเรียน ต่อจาก 6 ปีแรก (เสมือนปริญญาตรี แต่เรียนเท่าปริญญาโท) คือ 9 ปี 10ปี 11ปี จึงได้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
โดยต้องเรียน ประเภท 1และ 2 (เสมือนต่อปริญญาโททางแพทย์) ก่อนจึงไปต่อประเภทที่ 3(เสมือนต่อปริญญาเอกทางแพทย์) ได้ ตามตารางนี้ครับ

http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=753&id=4

ปกติก่อนเรียนต่อแพทย์ต้องทำงานใช้ทุน3ปี หลังจบ6ปีแล้ว
แพทย์เรียนจบที่อายุเฉลี่ย 24ปีใช้ทุน3ปีต่อผู้เชี่ยวชาญ อีก3ปี กว่าจะได้หมอเฉพาะทาง1คน ใช้เวลา12ปี ที่อายุ30ปีครับ
เช่นหมอสูติที่ทำคลอดต้องเรียน รวม6+3=9ปี
หมอผ่าตัด หมอออร์โธ(กระดูก) หมอยูโร เรียน 6+4 =10ปี
หมอศัลยกรรมพลาสติก(ความงาม) หมอผ่าตัดสมอง ของแพทยสภาเรียน 6+5 =11ปี เป็นต้น กว่าจะได้มาแต่ละคนไม่ง่ายเลยครับ ต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในภาครัฐให้นานที่สุด สร้างใหม่คนหนึ่งใช้เวลานานมากครับ ..
*****
สาขาประเภทที่ ๑ เสมือนกับปริญญาโททางการแพทย์

::เรียนรวม 9ปี(6+3)
๑. จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry )
๒. นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine )
๓. พยาธิวิทยากายวิภาค (Anatomical Pathology )
๔. พยาธิวิทยาคลินิก ( Clinical Pathology )
๕. พยาธิวิทยาทั่วไป ( Anatomical and Clinical Pathology )
๖. รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ( Therapeutic Radiology and Oncology )
๗. เวชศาสตร์ครอบครัว ( Family Medicine )
๘. เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ( Emergency Medicine )
๙. เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ( Nuclear Medicine )
๑๐. อายุรศาสตร์โรคเลือด ( Adult Hematology )

:: เรียนรวม 10ปี (6+4)
๑๑. จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ( Child and Adolescent Psychiatry )
๑๒. อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ( Oncology )

สาขาประเภทที่ ๒ เสมือนกับปริญญาโททางการแพทย์

:: เรียนรวม 9ปี (6+3)
๑. กุมารเวชศาสตร์ ( Pediatrics )
๒. จักษุวิทยา ( Ophthalmology )
๓. ประสาทวิทยา ( Neurology )
๔. รังสีวิทยาทั่วไป ( General Radiology ) ยกเลิก ปี ๒๕๕๗
๕. รังสีวิทยาวินิจฉัย ( Diagnostic Radiology )
๖. วิสัญญีวิทยา ( Anesthesiology )
๗. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา (Preventive Medicine, Epidemiology)
๘. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การบิน ( Preventive Medicine, Aviation Medicine )
๙.เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก ( Preventive Medicine,Clinical Preventive Medicine )
๑๐. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ( Preventive Medicine, Public Health )
๑๑.เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน ( Preventive Medicine, Community Mental Health )
๑๒. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ( Preventive Medicine, Occupational Medicine )
๑๓. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ทางทะเล ( Preventive Medicine ,Maritime Medicine )
๑๔. เวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ( Preventive Medicine Travel Medicine )
๑๕. เวชศาสตร์ฟื้นฟู ( Rehabilitation Medicine )
๑๖. สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynecology )
๑๗. โสต ศอ นาสิกวิทยา ( Otolaryngology )
๑๘. อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )

:: เรียนรวม 10ปี (6+4)
๑๙. กุมารศัลยศาสตร์ ( Pediatric Surgery )
๒๐. ตจวิทยา ( Dermatology )
๒๑. ศัลยศาสตร์ ( Surgery )
๒๒. ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ( Urological Surgery )
๒๓. ออร์โธปิดิกส์ ( Orthopedics )

:: เรียนรวม 11ปี (6+5)
๒๔. ประสาทศัลยศาสตร์ ( Neurological Surgery )
๒๕ โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ( Pediatric Hematology-Oncology )
๒๖. ศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic Surgery )
๒๗. ศัลยศาสตร์ทรวงอก ( Thoracic Surgery )

สาขาประเภทที่ ๓ (ต่อยอด เสมือนกับปริญญาเอกทางการแพทย์)

:: เรียนรวม 11 ปี (6+3+2)
๑. กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา ( Pediatric Dermatology )
๒. กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ( Neonatal- Perinatal Pediatric )
๓. กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา ( Pediatric Neurology )
๔. กุมารเวชศาสตร์การพัฒนาการและพฤติกรรม ( Developmental and Behavioral Pediatrics )
๕. กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ( Pediatric Endocrinology and Metabolism )
๖. กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ( Pediatric Infectious Disease )
๗. กุมารเวชศาสตร์โรคไต ( Pediatric Nephrology )
๘. กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ ( Pediatric Gastroenterology and Hepatology )
๙. กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ( Pediatric Allergy and Immunology )
๑๐. กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ( Pediatric Respiratory Diseases )
๑๑. กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ (( Pediatric Cardiology )
๑๒. กุมารเวชศาสตร์โภชนาการ ( Pediatric Nutrition )
๑๓. การระงับปวด ( Pain Management )
๑๔. ภาพวินิจฉัยชั้นสูง ( Advanced Diagnostic Radiology )
๑๕. ภาพวินิจฉัยระบบประสาท ( Diagnostic Neuroimaging )
๑๖. โภชนศาสตร์คลินิก ( Clinical Nutrition )
๑๗. มะเร็งนรีเวชวิทยา ( Gynecologic Oncology )
๑๘. รังสีร่วมรักษาของลำตัว( Body Intervention Radiology )
๑๙. รังสีร่วมรักษาระบบประสาท ( Interventional Neuroradiology )
๒๐. วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจหลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก ( Cardiovascular and Thoracic Anesthesia )
๒๑. วิสัญญีสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ( Neuroanesthesia )
๒๒. วิสัญญีวิทยาสำหรับเด็ก ( Pediatric Anesthesia )
๒๓. เวชบำบัดวิกฤต ( Intensive and Critical Care Medicine )
๒๔. เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ( Reproductive Medicine )
๒๕. เวชศาสตร์มาดาและทารกในครรภ์ ( Maternal Fetal Medicine )
๒๖. เวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา ( Clinical Pharmacology and toxicology )
๒๗. ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า ( Facial Plastic and Reconstructive Surgery )
๒๘. ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ( Surgical Oncology )
๒๙. ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ( Colon-rectal Surgery )
๓๐. ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ( Vascular Surgery )
๓๑. ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ( Trauma Surgery )
๓๒. อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม ( Rheumatology )
๓๓. อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ( Endocrinology and Metabolism )
๓๔. อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ( Infectious Diseases )
๓๕. อายุรศาสตร์โรคไต ( Nephrology )
๓๖. อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก (Allergy and Clinical Immunology )
๓๗. อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterology )
๓๘. อายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ (Pulmonary and Pulmonary Critical CareMedicine )
๓๙. อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ( Cardiology )
๔๐. อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ ( Geriatric Medicine )
๔๑. พยาธิสูตินรีเวชวิทยา ( Obstetric and Gynecological Pathology )
๔๒ ตจพยาธิวิทยา ( Dermatopathology )
๔๓.ออร์โธปิดิกส์บูรณสภาพ ( Reconstructive Orthopaedics )

สรุปทั้ง 82 สาขาในวันนี้ (24 ธค.58)
มีเวลาเรียนตั้งแต่ 9-11 ปี กว่าจะได้มารักษา ประชาชนที่ป่วยแต่ละคนครับ ..สร้างนาน เรียนนาน และ เรียนยากมากครับ คนไม่จบก็มาก...

ต่อไปท่านจะเลือกรักษากับหมอสาขาไหนโปรดดูชื่อด้วยนะครับ..ค้นจาก แพทยสภาที่นี่ก็ได้ครับ
http://tmc.or.th/check_md/
25 ธ.ค. 58 / 13:39
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676659 171.96.171.110 <= 171.96.171.110

#3# - 676660 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ชีวิตหมออย่างตรงไปตรงมาที่สุด

http://pantip.com/topic/32432066
25 ธ.ค. 58 / 19:32
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676660 171.96.171.110 <= 171.96.171.110

#4# - 676730 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ปัจจุบันและอนาคต โอกาสเรียนหมอผู้เชี่ยวชาญน้อยลง อัตรบรรจุก็จะน้อยลง
https://utaiacademy.wordpress.com/2013/06/09/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%99/
09 มี.ค. 59 / 21:03
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676730 171.96.172.134 <= 171.96.172.134

#5# - 676744 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] http://thaipublica.org/2011/11/national-health-problem/
17 มี.ค. 59 / 21:47
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676744 171.96.171.226 <= 171.96.171.226

#6# - 676875 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มีคนพยายามอธิบายข้อดีของการเลือกอาชีพแพทย์ แต่ก็มีแพทย์เข้ามาโต้แย้ง

http://pantip.com/topic/32510328
24 เม.ย. 59 / 04:57
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676875 171.96.170.104 <= 171.96.170.104

#7# - 677029 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=69117
28 ก.ย. 60 / 21:53
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 677029 171.101.73.151

#8# - 677237 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=69120
18 ก.ค. 62 / 05:42
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 677237 171.98.27.7 <= 171.98.27.7


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]